วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บุญไม่ได้มีเพียงการให้ทรัพย์เป็นทาน กิริยาอันเป็นทางมาแห่งบุญนั้น



บุญไม่ได้มีเพียงการให้ทรัพย์เป็นทาน กิริยาอันเป็นทางมาแห่งบุญนั้น จำแนกแล้วก็มีอยู่มากมาย ดังเช่นหลัก ๆ มีอยู่ ๑๐ อาการ ได้แก่ การให้ทาน การรักษาศีล การปฏิบัติธรรมภาวนา การประพฤติอ่อนน้อม การขวนขวายช่วยเหลือในกิจอันควร การให้ผู้อื่นมีส่วนในบุญของเราด้วยการบอกให้เขายินดีหรือเต็มใจมาช่วยเหลือ การมีน้ำจิตยินดีในบุญของผู้อื่น การฟังธรรมตามกาล การสั่งสอนธรรมด้วยจิตอนุเคราะห์ การทำความเห็นให้ถูกตรงทั้งเรื่องบุญบาปและการออกจากทุกข์
กิริยาอันเป็นบุญที่สำคัญที่สุด และพิสูจน์ความมีลาภแห่งการเกิดเป็นมนุษย์อย่าง ที่สุด ก็ได้แก่บุญข้อสุดท้าย คือการทำความเห็นให้ถูกตรงทั้งเรื่องบุญบาปและการ ออกจากทุกข์นี่เอง นับเริ่มจากการมองไกลไปข้างหน้า ทำความเข้าใจให้ดี มองให้ เห็นด้วยปัญญาว่าแต่ละภพเป็นภาพใหญ่ เป็นฉากหนึ่ง ๆ ทุกฉากต้องมีจุดเริ่มต้น และทุกฉากต้องมีจุดจบ ก็จะเกิดภาพสรุปในจินตนาการว่าทุกสิ่งที่เราเห็น ทุกส่ำ เสียงที่เราได้ยิน จะต้องแปรปรวนแล้วเสื่อมสลายหายหนไปหมด ไม่มีอะไร หลงเหลือตกค้างอยู่ได้เลย (ตติยบรรพ)

ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน




วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีที่จะสร้างสำนึก ทำตนให้เป็นคนละอายบาปได้จริง ๆ



วิธีที่จะสร้างสำนึก ทำตนให้เป็นคนละอายบาปได้จริง ๆ ก็ต้องสั่งสมบุญให้มากเข้าไว้ คือต้องทำตัวเป็นฝ่ายรุกด้วย ไม่ใช่ฝ่ายรับ ฝ่ายต้านทานประการเดียว บุญที่สั่งสมมาก ๆ จะเป็นตัวตั้งใหม่ให้สังเกตเห็นความต่างระหว่างขาวกับดำ สว่างกับมืด และดีกับเลว จนเห็นโทษภัย เห็นความไม่น่ารักของอกุศลจิตในตน (บทที่ ๒)

ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน


วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ใจที่ละอายต่อบาป สำนึกผิดเป็น



ใจที่ละอายต่อบาป สำนึกผิดเป็น และไม่เห็นการทำผิดซ้ำซากเป็นเรื่องเล่น ๆ นั้น เป็นภาพรวมรวบยอดของจิตวิญญาณที่พร้อมจะถูกจุดแสงให้สว่างไสวคงทน เพราะคนที่มีใจจริงละอายต่อบาปเท่านั้น จะประพฤติตนอยู่ในกรอบศีล ๕ ได้ยาวนาน ต่างจากคนที่มีจิตสำนึกน้อย แม้ใครกระตุ้นให้ถือศีล อย่างมากก็ทำตัวดีได้สองสามวันก็ตบะแตก ต้องกลับมาละเมิดศีลอีก เพราะเคยชินจนอดรนทนไม่ได้ อึดอัดกัดฟันเป็นคนดีได้เดี๋ยวเดียวเท่านั้น (บทที่ ๒)

ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน


วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เพราะโลกนี้มีแรงดึงดูดยวนยั่วให้กระโจนลงที่ต่ำ



เพราะโลกนี้มีแรงดึงดูดยวนยั่วให้กระโจนลงที่ต่ำ เราถึงเห็นใบหน้าระทมทุกข์มากกว่าใบหน้าระรื่นสุข คนจนมากกว่าคนรวย คนผิวพรรณหยาบมากกว่าคนผิวพรรณดี คนขี้โรคมากกว่าคนแข็งแรง ความต่างระหว่างชั้นวรรณะเกิดขึ้นก็เพราะชาติที่แล้ว ๆ มาผู้คนเจอสภาพแวดล้อมฉุดให้ตกต่ำทำนองเดียวกันนี้แหละ ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจุบัน เมื่อเราเข้ามาอยู่ในสนามสอบอีก จะผ่านด่านไปได้หรือไม่ ทุกอย่างตั้งต้นที่การศึกษา การตระหนัก การตัดสินใจเลือก และการเพียรเอาจริง (บทที่ ๒)

ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน


วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยกับดักหลุมดำดึงดูดผู้คนให้ลงต่ำ



โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยกับดักหลุมดำดึงดูดผู้คนให้ลงต่ำ ทั้งสื่อลามก ทั้งสงครามฆ่าฟัน ทั้งการแข่งขันแย่งความสำคัญกัน จึงไม่น่าสงสัยว่าความรู้ความเห็นของคนทั่วไปทำไมวิปริตผิดเพี้ยนกันใหญ่ บางทีเอาโจรมาเป็นพระเอก บางทีคนดีเหนียมอายกับการทำดี บางทีการทำเรื่องน่าละอายกลายเป็นการพิสูจน์ความใจถึง ภพของคนส่วนใหญ่จึงเป็นภพที่ชั่ว โดยไม่รู้ตัวว่าจิตของตนยึดติดอยู่กับภพที่ชั่ว เพราะสภาพแวดล้อมทั้งมวลพากันตะล่อมหลอกว่าภพที่ชั่วคือภพปกติของคนทั่วไป ๓๒
ต่อเมื่อรู้จักพุทธศาสนา ศึกษาวิชา ‘รู้ตามจริง’ ของพระพุทธเจ้า ก็จะได้เข้าใจอย่าง ถ่องแท้ว่าอะไรคือกุศล เป็นธรรมชาติด้านสว่าง มีความรุ่งเรือง เพื่อความสุขสบาย อะไรคืออกุศล เป็นธรรมชาติด้านมืด มีความอับทึบ เพื่อความทุกข์ร้อน จึงค่อย สามารถดึงตัวเองออกมาจากหลุมดำต่าง ๆ ที่ตนติดหล่มอยู่ได้ทีละเปลาะ (บทที่ ๘)


ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน


วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การปลูกฝังศรัทธาในพระพุทธองค์นั้น



การปลูกฝังศรัทธาในพระพุทธองค์นั้น ไม่มีอะไรดีไปกว่าลงมือปฏิบัติตามคำสอนของท่าน ทั้งในแง่ของการฝึกเสียสละ รู้จักให้ทาน เพื่อละความตระหนี่ และทั้งในแง่ของการบำเพ็ญตนเป็นผู้ปลอดโปร่งจากบาปอกุศลทั้งปวง รักษาศีลจนกลายเป็นที่รักยิ่งกว่าสิ่งยั่วยุใด ๆ เมื่อประสบสุขทางใจเต็มอิ่มแล้ว ก็จะบังเกิดความเลื่อมใสว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้สอนความไม่เบียดเบียน เป็นผู้ชี้ทางตรง ทางถูก ทางไปสู่สวรรค์ นิพพานได้จริง เมื่อนั้น ศรัทธาจะไม่คลอนแคลน และเราจะเป็นผู้มีคติที่ไปอันประเสริฐเสมอ 
(บทที่ ๘)

ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน


วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ชาตินี้เป็นมนุษย์ ได้พบพุทธศาสนาก็ถือเป็นโอกาสทอง



ชาตินี้เป็นมนุษย์ ได้พบพุทธศาสนาก็ถือเป็นโอกาสทองไม่เป็นรองชาติไหน ๆ แล้ว ขืนไม่ฉวยโอกาสทำทาน ไม่รักษาศีลเลย แถมคิดไม่ดีอยู่เรื่อย ๆ อย่างนี้แม้เกิดใหม่ยังได้เป็นมนุษย์อยู่ ก็จะรูปร่างหน้าตาบูด ๆ เบี้ยว ๆ ไปตามยถากรรม ผู้มีโอกาสล่วงรู้เส้นทางกรรมที่จะปรุงแต่งให้รูปโฉมงามพร้อม ย่อมประพฤติกาย วาจา ใจให้เป็นกุศลด้วย และสร้างบุญสร้างกุศลพิเศษประการต่าง ๆ ไปด้วย เพื่อความไร้ที่ติแห่งการปรากฏกายในชาติภพเบื้องหน้าตราบเท่าเข้าถึงพระนิพพานกัน (บทที่ ๔)

ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน


วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ถ้าแค่ตั้งใจเด็ดขาดว่าจะอยู่ในกรอบของศีลทั้ง ๕ ข้อ



ถ้าแค่ตั้งใจเด็ดขาดว่าจะอยู่ในกรอบของศีลทั้ง ๕ ข้อ หรือพูดง่ายกว่านั้นคือ ถ้ามีใจละอายต่อบาป สะดุ้งกลัวต่อบาป ก็เป็นอันประกันว่าจะก่อกรรมอันเป็นฝักฝ่ายให้ได้เกิดเป็นมนุษย์อย่างแน่นอน 
(บทที่ ๒)

ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน


วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มนุษย์เกือบทุกคนต้องการเป็นที่จดจำ




มนุษย์เกือบทุกคนต้องการเป็นที่จดจำ แต่มีไม่ถึงหนึ่งในล้านที่ถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ อาจยาวนานหลายสิบปี หลายร้อยปี หรือหลายพันปี แล้วในที่สุดก็จะต้องถูกลืมเลือนไปจนได้ แม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นหนึ่งในศาสดาของศาสนาใหญ่ก็ทรงเคยตรัสพยากรณ์ถึงยุคของสงฆ์รุ่นสุดท้ายที่เรียก ‘โคตรภูสงฆ์’ ซึ่งพ้นยุคนั้นไปแล้วจะไม่มีใครท่องจำธรรมบทได้อีก และนั่นหมายความว่าจะไม่มีใครรู้เลยว่าครั้งหนึ่งโลกนี้เคยเป็นที่อุบัติของมหาบุรุษผู้ทรงความสำคัญยิ่งยวดต่อมนุษย์และเทวดาอินทร์พรหมยมยักษ์นับจำนวนไม่ถ้วน
จะพูดว่าพวกเราเกิดมาเพื่อรู้แล้วลืมก็ได้
จะพูดว่าพวกเราเกิดมาเพื่อถูกลืมก็ได้
แก่นสารและคุณค่าของความเป็นมนุษย์อยู่ที่ไหน? นี่คือสิ่งที่ถูกถามถึงมาตลอด แต่ละคนก็ให้ความหมาย ให้คุณค่ากันไปตามมุมมองของตน แท้จริงเราอาจได้ คำตอบอันถูกต้อง หากตั้งคำถามเสียใหม่ให้ตรงประเด็นกว่าเดิม นั่นคือ เราเกิด มาเป็นมนุษย์ได้ด้วยเหตุอันใดกัน? (บทที่ ๒)


ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน


วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิชารู้ตามจริงของพระพุทธเจ้านั้น โดยสรุปย่นย่อก็คือ



วิชารู้ตามจริงของพระพุทธเจ้านั้น โดยสรุปย่นย่อก็คือการมีสติระลึกรู้ความเป็นไปในกายใจตามจริง ขอบเขตกายใจนี้ซอยย่อยออกได้เป็นที่ตั้งของสติ ๔ ชนิด จึงเรียกว่า ‘สติปัฏฐาน ๔’ เรียงตามลำดับดังนี้
๑) กาย ได้แก่ลมหายใจ อิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อย ความสกปรกของร่างกาย ความเป็นการประชุมกันของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม และความแน่นอนที่จะต้องเป็น ซากศพในกาลต่อไป
๒) เวทนา ได้แก่ความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉย ทั้งที่เนื่องด้วยเหยื่อล่อทางโลกเช่นกามคุณ ๕ และทั้งที่ไม่เนื่องด้วยเหยื่อล่อทางโลกเช่นการเกิดสติอย่างต่อเนื่องจนเป็นสุข หรือการอยากได้ความสงบแต่ไม่ได้ดังใจเลยเป็นทุกข์
๓) จิต ได้แก่ความมีสภาพจิตเป็นต่าง ๆ ทั้งที่มีราคะ โทสะ โมหะ และไม่มีกิเลสทั้ง สาม ตลอดจนสภาพจิตหดหู่ สภาพจิตฟุ้งซ่าน สภาพจิตสงบอย่างใหญ่ สภาพจิตที่ ปล่อยวางอุปาทานเสียได้
๔) ธรรม ได้แก่สภาพธรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแสดงว่าขณะนี้เกิดขึ้น ขณะนี้ตั้งอยู่ ขณะนี้ดับไป รวมทั้งสภาพธรรมที่แสดงความไม่ใช่ตัวตนออกมาอย่างโจ่งแจ้ง คือมี
การประชุมกันของเหตุปัจจัยต่าง ๆ ปรากฏผลลัพธ์อยู่ชั่วคราว เมื่อเหตุปัจจัยต่างฝ่าย ต่างแยกย้ายกันไปแล้ว ก็ไม่เหลือผลใด ๆ ปรากฏต่ออีก
การฝึกรู้ตามจริงไปเรื่อย ๆ นั้น ในที่สุดจะเกิดไฟล้างกิเลสออกจากจิตครั้งใหญ่ เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์ ‘บรรลุธรรม’ ซึ่งขั้นต้นเรียกว่าเป็นการได้ดวงตาเห็นธรรม หรืออีกนัยหนึ่งรู้จักพระนิพพานอันเป็นธรรมชาติที่ไม่มีสิ่งใดตั้งอยู่ในที่นั้นได้ กล่าว ให้เข้าใจง่าย การรู้จักนิพพานคือการเห็นสภาพอันเป็นความจริงสูงสุด ความจริง สูงสุดคือความว่างจากตัวตน ดังนั้นจึงไม่มี ‘ตัว’ ใด ๆ ตั้งอยู่ได้ในสภาพอันเป็นยอด สุดแห่งความเป็นจริงนั้น แม้กระทั่งอากาศธาตุก็ไม่อาจถูกต้องนิพพานได้ (บทที่ ๑๐)

ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน


วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ศักยภาพของมนุษย์’ นั้นใช้ให้คุ้มที่สุดก็คือ



ศักยภาพของมนุษย์’ นั้นใช้ให้คุ้มที่สุดก็คือการเอามาเข้าให้ถึงแก่นของพุทธศาสนา คือศึกษาวิชา ‘รู้ตามจริง’ ของพระพุทธเจ้าให้ทะลุปรุโปร่งนั่นเอง (ตติยบรรพ)

ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน


วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บางคนนั่งชมทะเลอย่างเหม่อลอยก็เป็นสุขแล้ว



บางคนนั่งชมทะเลอย่างเหม่อลอยก็เป็นสุขแล้ว ไม่ต้องการคิดอะไรเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์อีก
หลายคนได้เสพกามไปวัน ๆ ก็หนำใจพอ ศักยภาพมนุษย์อย่างอื่นมีอย่างไรบ้างไม่ สน
หลายคนได้รับผิดชอบตนเองและครอบครัวให้อยู่รอดก็เหนื่อยแล้ว อย่าเข็นให้คิดใช้ ความเป็นมนุษย์ในทางอื่นใดเพิ่มเติมเสียให้ยาก
หลายคนตั้งเป้าหมายและมุ่งมั่นบากบั่นไปจนถึงปลายทางสักครั้งเดียวก็เต็มอิ่มกับ ความเป็นมนุษย์แล้ว ๒๙
หลายคนรักการใฝ่ฝันหลากหลาย และเต็มใจบินไปคว้าดาวจากหลายขอบฟ้า เพื่อ รู้จักความเป็นมนุษย์อย่างพิสดารสูงสุด
แต่มีคนน้อยเท่าน้อย ที่ตั้งคำถามกับตนเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันว่า อะไรคือประโยชน์ สูงสุดที่สมควรได้จากความเป็นมนุษย์ (บทที่ ๒)

ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน



วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ทำไมชีวิตถึงมีความขัดแย้ง



ทำไมชีวิตถึงมีความขัดแย้ง เหตุใดจึงไม่มีใครเป็นสุขได้แต่ถ่ายเดียว? ก็เพราะคนเราไม่รู้แล้วก่อกรรมดีบ้างเป็นบางครั้ง และเพราะคนเราไม่รู้แล้วก่อกรรมชั่วบ้างเป็นบางคราว ไม่มีใครเกิดมาพร้อมกับความรู้ว่าทำดีต้องเสวยผลดี ทำชั่วต้องเสวยผลชั่ว จะช้าเร็วไม่มีใครหนีแรงสะท้อนกลับของบาปบุญได้พ้น (ปฐมบรรพ)

ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน



วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แนะนำหนังสือ ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน



หนังสือเล่มนี้อาจเปลี่ยนโลกไม่ทันแต่เปลี่ยนชีวิตคุณได้ก่อนสาย "เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน ฉบับปฏิรูป" เขียนใหม่เกือบ ๗๐% เพื่อให้อ่านง่ายที่สุด คือแบ่งไว้เพียง ๓ ตอนหลักๆ คือ ๑) เกิดมาเป็นแบบนี้ได้อย่างไร ๒) ตายแล้วไปไหนได้บ้าง ๓) ยังอยู่แล้วควรทำอะไรดี แถมด้วยบทส่งท้าย โดยผู้เขียนได้พยายามชี้ให้เห็นว่าคุณค่าของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้นมีมากมาย การได้รับโอกาสในการเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นเป็นโอกาสทองของการ “ปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น” และหลีกเลี่ยงการกระทำบางอย่างที่เรา “เผลอทำ” ไปแล้วให้ผลเป็นทุกข์มากมาย ในทางกลับกันจึงเป็นเรื่องน่าคิดว่าแล้วบุคคลผู้ที่มักกระทำตนในทางตรงกันข้ามจะทำให้มีคุณสมบัติอย่างไรต่อไปในอนาคต....คำตอบมีอยู่ในเล่มนี้

เสียงอ่านหนังสือ เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน

http://www.dungtrin.net/media/index.php/list-audiobook/63-book-siadai-new




วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อยากสุขแล้วได้สุขสมหวัง



อยากสุขแล้วได้สุขสมหวัง
ภายหลังจะต้องทุกข์เพราะอยากสุขอีก
เห็นทุกข์แล้วละเหตุแห่งทุกข์ได้
ภายหลังจะสบายเพราะหายอยากสิ้น


ดังตฤณ : ทางนฤพาน


วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รักแท้น่ะมีจริง แต่ที่จริงกว่านั้นคือกิเลส



รักแท้น่ะมีจริง แต่ที่จริงกว่านั้นคือกิเลส
กิเลสมากก็ทุกข์มาก  กิเลสน้อยก็ทุกข์น้อย
สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์  
(บทที่ ๒๘)

ดังตฤณ : ทางนฤพาน



วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เท็จ นั้นคนพูดย่อม ทิ้งรอย



"เท็จ นั้นคนพูดย่อม   ทิ้งรอย 
จริง แล้วไม่เคยลอย    เลื่อนเปื้อน
สิ่งเดียวในหนึ่งร้อย    เล่ห์ลิ้น ลมคน
ลวง ด้วยคำเอ่ยเอื้อน    อาจย้อนรัดคอ" 
(บทที่ ๒๗)

ดังตฤณ :  ทางนฤพาน



วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อุปมาจิตคิดร้าย ดังกา



อุปมาจิตคิดร้าย ดังกา
คิดดีงามเลิศฟ้า พญาหงส์
สักแต่เรียงโบกบินร่า ครู่หนึ่งสลายตัว
แลชุมกลับวายโล่ง อนาถแท้อนัตตา  
(บทที่ ๒๗)


ดังตฤณ : ทางนฤพาน


วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การนุ่งเหลืองห่มเหลืองเป็นเพียงเปลือกนอก



การนุ่งเหลืองห่มเหลืองเป็นเพียงเปลือกนอก การปฏิบัติจิตให้เกิดความโน้มเอียง
เข้าสู่มรรคผลแบบพระสำคัญกว่า พูดง่าย ๆ การปฏิบัตินั้นอยู่ที่เครื่องห่อหุ้มจิต ไม่อยู่ที่เครื่องห่อหุ้มกาย (บทที่ ๒๖)


ดังตฤณ : ทางนฤพาน


วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อันตรายของสังสารวัฏใหญ่หลวงก็ด้วยเหตุนี้



"อันตรายของสังสารวัฏใหญ่หลวงก็ด้วยเหตุนี้ ตายแล้วไม่มีอะไรประกันเลยว่าเกิดใหม่จะเป็นอย่างไร คิดอย่างไร แม้เคยดีแสนดี หรือความรู้ท่วมหัวท่วมหูขนาดไหน
ก็ตาม ต่อเมื่อถึงโสดาปัตติผลขึ้นไปแล้ว จึงชื่อว่าปลอดภัย แม้ยังต้องเดินทางอีก ก็จะไหลไปตามกระแส ลอยตัวถึงฝั่งนิพพานจนได้ ไม่หลงลงต่ำอีกเลย" (บทที่ ๒๖)

ดังตฤณ : ทางนฤพาน



วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เราทุกคนครึ่งดีครึ่งร้ายกันตามธรรมชาติ



เราทุกคนครึ่งดีครึ่งร้ายกันตามธรรมชาติ แต่ธรรมชาติก็ให้เรารู้อยู่ในใจตอนทำอะไรสักอย่าง ว่ามันดีหรือร้าย แล้วธรรมชาติก็อนุญาตให้เราเลือกได้ว่าจะอยู่ฝ่ายไหน ไม่จำเป็นต้องปล่อยเลยตามเลยเสมอไป หากเรา ‘หวัง’ หรือ ‘อยาก’ เป็นคนดี นั่นแปลว่ามีความตั้งใจดักเหตุการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ถ้ามาอย่างนี้ เราจะโต้ตอบอย่างนั้น การกำหนดใจไว้ล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญมาก มันจะทำให้เราไม่ลังเลเมื่อถึงเวลาจริง ทุกอย่างจะเป็นไปเองเหมือนโปรแกรมที่ตั้งไว้อัตโนมัติ (บทที่ ๒๕)

ดังตฤณ : ทางนฤพาน


วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เห็นคนตายก็หมายรู้เดี๋ยวกูด้วย



"เห็นคนตายก็หมายรู้เดี๋ยวกูด้วย
อีกไม่ช้าชราป่วยแล้วม้วยสูญ
ศพวางนอนอย่างขอนไม้คล้ายอิฐปูน
รอขึ้นเผาให้เอาศูนย์มานับกาย
เหลือเพียงชื่อให้ลือจำทำไมเล่า 
เขาก็รอคอขึ้นเขียงเรียงจากหาย
เหมือนกับเราเฝ้าจดจำแล้วกลับตาย
ชื่อก็วายกายก็วางว่างหมดกัน" 
(บทที่ ๒๘)


ดังตฤณ : ทางนฤพาน


วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กระแสทุกข์ของสังสารวัฏเชี่ยวกรากนัก


กระแสทุกข์ของสังสารวัฏเชี่ยวกรากนัก เหมือนมีแรงปรารถนาให้ส่ำสัตว์เวียนว่ายไปชั่วอนันตกาล เห็นแล้วลืม ลืมก็คือไม่รู้ ไม่รู้แล้วก่อร่างสร้างชาติ แต่ละชาติก็รู้คิดแค่เท่าที่ตาเห็น เป็นอยู่ได้แค่เท่าที่กำเนิดอำนวย ฉวยได้แค่ความสุขเท่าไอน้ำที่มากับลมแล้งเกาะมือแล้วระเหยหายไปอย่างรวดเร็ว ย่ำลุยขี้เยี่ยวของตนเองในบั้นปลายจึงค่อยสำนึกว่าในวัยต้นชีวิตถูกหลอกให้หลงรูป หลงเสียง ปิดบังความแก่ ความเจ็บ ความตายที่ปรากฏทนโท่รอบตัว ไม่คิดเลยว่าวันหนึ่งจะมาถึงตน (บทที่ ๒๒)

ดังตฤณ : ทางนฤพาน


วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรื่องไม่คาดฝันมีอยู่มากมายจะร้ายหรือดีล้วนปรากฏเหมือนความบังเอิญ



เรื่องไม่คาดฝันมีอยู่มากมายจะร้ายหรือดีล้วนปรากฏเหมือนความบังเอิญ แต่น้อย
คนจะรู้ว่าเหตุการณ์ที่มีผลกระทบกับวิถีชีวิตอย่างแรงนั้น ที่แท้เป็นวิบากกรรมอันมี
จริง เห็นได้จริง ไม่มีเรื่องใดบังเอิญเลย จะเป็นเวลาไหน โยงใยกับใคร กรรมเป็นผู้คัดเลือกทั้งสิ้น (บทที่ ๒๑)

ดังตฤณ : ทางนฤพาน



วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เป็นชาวพุทธชั้นเลิศนั้น ใช่ว่าวัดกันที่ความผ่องใสของหน้าตา



เป็นชาวพุทธชั้นเลิศนั้น ใช่ว่าวัดกันที่ความผ่องใสของหน้าตา ทำบุญมากน้อย นั่งสมาธิสำเร็จฌาน หรือกระทั่งเข้าถึงวิปัสสนาญาณรู้เห็นธาตุธรรมสูงส่งเท่าไหร่ แต่วัดกันง่ายๆ ว่าทำใจตัด ทำใจละวางได้แค่ไหน เสมอต้นเสมอปลายเพียงใด (บทที่ ๑๔)

ดังตฤณ : ทางนฤพาน


วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การสูญเสียเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักร



การสูญเสียเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักร ไม่มีอะไรอยู่กับเราตลอดไป ไม่มีอะไรจากเราไปตลอดกาล ถ้าคลี่เวลาออกเป็นเส้นตรงและสามารถเห็นได้จริงทั้งอดีต ปัจจุบันอนาคตพร้อมกัน เราคงเห็นตัวเองได้ของรักแล้วเสียของรัก หัวเราะแล้วร้องไห้ พบ
แล้วพลัดพราก ย้อนเวียนกลับไปกลับมา สลับกันเป็นสายโซ่ยืดยาว (บทที่ ๑๔)


ดังตฤณ : ทางนฤพาน

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ถ้าเหลือแต่ใจที่เสมอกับธรรมชาติ เลิกดิ้นรน เลิกเป็นเชื้อไฟอย่างสิ้นเชิง คนเราเป็นสุข


ถ้าเหลือแต่ใจที่เสมอกับธรรมชาติ เลิกดิ้นรน เลิกเป็นเชื้อไฟอย่างสิ้นเชิง คนเราเป็นสุขได้ยิ่งกว่าขึ้นสวรรค์เสียอีก เพราะบนสวรรค์อาจมีความน่าขัดใจ จัดเป็นทุกข์ทางใจชนิดหนึ่ง การดับทุกข์อย่างสนิทเป็นประโยชน์ในปัจจุบัน พิสูจน์ได้ก่อนตาย เชื่อได้สนิทใจเดี๋ยวนี้ ต่างจากโลกหน้าที่ต้องตายเสียก่อนถึงรู้ว่าเรื่องกุหรือของจริง
(บทที่ ๑)

ดังตฤณ : ทางนฤพาน



วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หนังสือแนะนำ ดังตฤณ : ทางนฤพาน


ทางนฤพาน  โดย ดังตฤณ

นิยายธรรมะเรื่องแรกสุดของคุณดังตฤณ - "เกาทัณฑ์เป็นหนุ่มอัตตาสูงที่เริ่มเบื่อความสมบูรณ์แบบ แพตรีเป็นสาวน้อยที่คอยรักแท้จากอดีตชาติ เรือนแก้วเป็นสาวไฟแรงที่สับสนกับความต้องการของตนเอง แต่ละคนมีความทุกข์เพิ่มขึ้นอีกหลังจากโคจรมาพบกัน"





วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

“แล้วถ้าแค่อยากทำผิดอยู่ในใจเรื่อย ๆ โดยปราศจากความละอาย แต่ไม่ได้พูด ไม่ได้ลงมือทำจริง ๆ ล่ะคะ ถือว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกของหมู่คนเลวหรือเปล่า?”



“แล้วถ้าแค่อยากทำผิดอยู่ในใจเรื่อย ๆ โดยปราศจากความละอาย แต่ไม่ได้พูด ไม่ได้ลงมือทำจริง ๆ ล่ะคะ ถือว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกของหมู่คนเลวหรือเปล่า?”

“คิดเฉย ๆ ไม่ใช่ตัวตัดสิน เขาตัดสินกันตอนพูด ตอนลงมือทำ แต่ก็ประมาท ความคิดไม่ได้ 
เพราะความคิดนี่แหละต้นแหล่งดีชั่วที่แท้จริง ตราบใดยังคิด ตราบ นั้นยังมีสิทธิ์พูดออกมาจริง ๆ ทำออกมาจริง ๆ ”

“แล้วจะจัดการกับความคิดชั่ว ๆ ในหัวยังไงดีล่ะคะ ทุกวันนี้จ๊ะสารภาพกับอาจารย์ เลย ว่ายังมีความคิดเหลวแหลกอยู่มาก 
บางทีก็ทรมานจัง แต่ก่อนตอนเลว ๆ ยังคิด น้อยกว่านี้ด้วยซ้ำ”
อุปการะหัวเราะหึหึ 

“ความอยากหยุดคิด กับความทรมานจากการคิดเหลวแหลกนั่นแหละ ตัวกระตุ้น สำคัญให้ยิ่งคิดมากเข้าไปใหญ่ 
หนูไม่ต้องไปทำอะไร มันจะเกิดก็ให้มันเกิด พิจารณา ดูให้รู้ว่านั่นแค่คลื่นสมองซึ่งผุดกระเพื่อมขึ้นเอง 
ไม่ใช่เจตนาที่ส่งออกมาจากหัวใจ ของเราอย่างแท้จริง”

“ถ้าคิดเลว ๆ แล้วไม่รู้สึกผิด มิเข้าข่ายที่อาจารย์ว่าคิดเลวได้โดยปราศจากความ ละอายหรอกหรือคะ?”

“ความคิดมีอยู่สองแบบ แบบแรกเหมือนสายลมที่พัดมาเองตอนเราเดินอยู่กลางแจ้ง เราบังคับควบคุมไม่ได้ 
ทำได้แค่เพียงรับรู้ว่ามันผ่านมาปะทะเราแล้วปล่อยให้มันผ่าน ไปเฉยๆ ความคิดอีกแบบเหมือนลมที่เกิดจากความจงใจ
พัดโบกของเรา เราสมัครใจ หรือติดใจที่จะคิดอย่างนั้น การคิดด้วยความติดใจและจงใจนี่แหละถึงจะเป็น มโนกรรมเต็มขั้น”
ลานดาวยิ้มอย่างเข้าอกเข้าใจแจ่มแจ้งแทงตลอด

“สรุปคือแค่ปฏิบัติต่อความคิดเลว ๆ เหมือนรู้ว่ามีสายลมพัดฝุ่นทรายมาโดนตัว แล้ว ก็แล้วกันไป 
ไม่ต้องคว้ามาใส่ปากเคี้ยวต่อ อย่างนั้นใช่ไหมคะ?”

อุปการะยิ้มอย่างพึงใจในการอุปมาอุปไมยของหญิงสาว 
(ตอนที่ ๔๑)

ดังตฤณ : กรรมพยากรณ์ ตอนชนะกรรม, 


วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ถ้าหากหนูเป็นทุกข์ มีความอึดอัดคับแค้นใจเพราะการกระทำของคนอื่น ควรทำอย่างไรคะ


“ถ้าหากหนูเป็นทุกข์ มีความอึดอัดคับแค้นใจเพราะการกระทำของคนอื่น ควรทำอย่างไรคะ?
ในเมื่อต้นเหตุเป็นบุคคลที่ก่อกรรมกับเรา เขามีนิสัยฝังใจ ยากจะเปลี่ยนแปลง”

“คนเรามักมองว่าความอึดอัดนั้น มีต้นเหตุอยู่ที่คนอื่น ถ้ามองเสียว่าหลาย ๆ ครั้ง
เราคับแค้นเพราะคิด มีความคิดเป็นเหตุสำคัญของความคับแค้น
อันนั้นก็เป็นกรรมของเราเหมือนกัน คือเป็นมโนกรรมที่คิดเพ่งโทษผู้อื่น
หากเราเลิกคิด หรือคิดในทางดี แทน ใจก็จะเปลี่ยนจากทุกข์มาเป็นสุข”

 “แต่ถ้าเขาต้องติดต่อเกี่ยวข้อง หรือเป็นบุคคลใกล้ชิด ที่ไม่ยุติธรรมกับเรา
หรือทำให้ เราเดือดร้อนเป็นทุกข์ล่ะคะ?”

“หลายเรื่องในโลกแก้ไขจากข้างนอกไม่ได้ แต่ปรับปรุงดัดแปลงที่ภายในเราเองได้
คนอื่นนั้นต่อ ให้ตัดแขนตัดขา หั่นร่างกายเราออกเป็นชิ้น ๆ เราจำเป็นต้องทุกข์แค่ที่กายเท่านั้น
ไม่จำเป็นต้องมีทุกข์ทางใจเลย โดยมากจะอยู่ในรูปที่คนอื่นทำร้ายเรา ด้วยปากหรือมือไม้สิบนาที
แต่เรามาทำร้ายตัวเองด้วยความคิดเสียสิบชั่วโมง”
(ตอน ที่ ๗)

 ดังตฤณ : กรรมพยากรณ์ ตอนชนะกรรม