วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิชารู้ตามจริงของพระพุทธเจ้านั้น โดยสรุปย่นย่อก็คือ



วิชารู้ตามจริงของพระพุทธเจ้านั้น โดยสรุปย่นย่อก็คือการมีสติระลึกรู้ความเป็นไปในกายใจตามจริง ขอบเขตกายใจนี้ซอยย่อยออกได้เป็นที่ตั้งของสติ ๔ ชนิด จึงเรียกว่า ‘สติปัฏฐาน ๔’ เรียงตามลำดับดังนี้
๑) กาย ได้แก่ลมหายใจ อิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อย ความสกปรกของร่างกาย ความเป็นการประชุมกันของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม และความแน่นอนที่จะต้องเป็น ซากศพในกาลต่อไป
๒) เวทนา ได้แก่ความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉย ทั้งที่เนื่องด้วยเหยื่อล่อทางโลกเช่นกามคุณ ๕ และทั้งที่ไม่เนื่องด้วยเหยื่อล่อทางโลกเช่นการเกิดสติอย่างต่อเนื่องจนเป็นสุข หรือการอยากได้ความสงบแต่ไม่ได้ดังใจเลยเป็นทุกข์
๓) จิต ได้แก่ความมีสภาพจิตเป็นต่าง ๆ ทั้งที่มีราคะ โทสะ โมหะ และไม่มีกิเลสทั้ง สาม ตลอดจนสภาพจิตหดหู่ สภาพจิตฟุ้งซ่าน สภาพจิตสงบอย่างใหญ่ สภาพจิตที่ ปล่อยวางอุปาทานเสียได้
๔) ธรรม ได้แก่สภาพธรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแสดงว่าขณะนี้เกิดขึ้น ขณะนี้ตั้งอยู่ ขณะนี้ดับไป รวมทั้งสภาพธรรมที่แสดงความไม่ใช่ตัวตนออกมาอย่างโจ่งแจ้ง คือมี
การประชุมกันของเหตุปัจจัยต่าง ๆ ปรากฏผลลัพธ์อยู่ชั่วคราว เมื่อเหตุปัจจัยต่างฝ่าย ต่างแยกย้ายกันไปแล้ว ก็ไม่เหลือผลใด ๆ ปรากฏต่ออีก
การฝึกรู้ตามจริงไปเรื่อย ๆ นั้น ในที่สุดจะเกิดไฟล้างกิเลสออกจากจิตครั้งใหญ่ เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์ ‘บรรลุธรรม’ ซึ่งขั้นต้นเรียกว่าเป็นการได้ดวงตาเห็นธรรม หรืออีกนัยหนึ่งรู้จักพระนิพพานอันเป็นธรรมชาติที่ไม่มีสิ่งใดตั้งอยู่ในที่นั้นได้ กล่าว ให้เข้าใจง่าย การรู้จักนิพพานคือการเห็นสภาพอันเป็นความจริงสูงสุด ความจริง สูงสุดคือความว่างจากตัวตน ดังนั้นจึงไม่มี ‘ตัว’ ใด ๆ ตั้งอยู่ได้ในสภาพอันเป็นยอด สุดแห่งความเป็นจริงนั้น แม้กระทั่งอากาศธาตุก็ไม่อาจถูกต้องนิพพานได้ (บทที่ ๑๐)

ดังตฤณ : เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น